กนอ. จัดสัมมนาเพื่อจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. ในระดับสายงาน/ฝ่ายงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. ระดับสายงาน/ฝ่ายงาน ในการระบุความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือหรือกลไกด้านการบริหารความเสี่ยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามมาตรฐานสากล และให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ Enablers ด้านการมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้า Module 1 : การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งกำหนดให้รัฐวิสาหกิจจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้สามารถบริหารความเสี่ยงของการสร้างความสัมพันธ์/บริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ครบถ้วนตามเป้าหมาย
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 น. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยรองศาสตราจารย์ วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. ได้มอบหมายให้นางบุปผา กวินวศิน รองผู้ว่าการ (พัฒนาที่ยั่งยืน) เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาเพื่อจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. ในระดับสายงาน/ฝ่ายงาน ภายใต้สถาบัน กนอ. โดยมี นางสาวพิชญา โทบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ ให้เกียรติกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การสัมมนาฯ
สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. ในระดับสายงาน/ฝ่ายงาน ในการระบุความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือหรือกลไกด้านการบริหารความเสี่ยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามมาตรฐานสากล และเพื่อให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ Enablers ด้านการมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้า Module 1 : การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้สามารถบริหารความเสี่ยงของการสร้างความสัมพันธ์/บริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ครบถ้วนตามเป้าหมาย โดยมี ดร.ไวฑูรย์ โภคาชัยพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทเกอร์ แอดไวซิ่ง กรุ๊ป จำกัด เป็นวิทยากรบรรยาย และมีผู้บริหารและพนักงาน กนอ. เข้าร่วมการสัมมนาฯ จำนวน 120 คน ณ ห้องประชุม Mayfair C ชั้น 11 โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ
กนอ. จัดสัมมนารายงานผลการศึกษา โครงการสำรวจความพึงพอใจและทัศนคติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ กนอ. ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารผลการสำรวจความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวัง ความเชื่อมั่น ทัศนคติและความกังวล (VOS) ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญของ กนอ. ได้แก่ ผู้ใช้บริการทั้งในและต่างประเทศ ชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมและชุมชนโดยรอบพื้นที่ที่จะมีการจัดตั้ง-ขยายนิคมอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ คู่ค้า ผู้ส่งมอบ สื่อมวลชน และคู่ความร่วมมือ ที่ได้นำมาวิเคราะห์ และประเมินผล โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการนำผลที่ได้มาปรับปรุง/พัฒนากลยุทธ์ รูปแบบ กระบวนการ แนวทาง ตลอดจนการวางแผนในการดำเนินงานให้ตอบสนองต่อประเด็นความต้องการ และทำให้เหนือกว่าความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามหลักการด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย AA1000SES อันจะนำไปสู่การยกระดับการให้บริการต่อผู้ใช้บริการได้อย่างมีคุณภาพ และยกระดับความเชื่อมั่นด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และสังคม ต่อชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมได้อย่างสมดุลในที่สุด
กนอ. จัดการสัมมนาสื่อสารแผนการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. ประจำปีงบประมาณ 2567 ภายใต้ สถาบัน กนอ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นแนวทางมาตรฐานสำหรับการบริหารความเสี่ยงด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามแผนการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ.
กนอ. จัดการสัมมนาถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระยะยาวของ กนอ. ปีงบประมาณ 2566 – 2570 (ทบทวนปีงบประมาณ 2568) และแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2568 ภายใต้สถาบัน กนอ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารและสร้างความรู้ความเข้าใจในทิศทางและเป้าหมายในการบริหารจัดการและสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. เพื่อให้การดำเนินงานมีการบูรณาการทั่วทั้งองค์กร สอดคล้องกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ ตามมาตรฐาน ISO 26000 และ ตอบสนองต่อประเด็นความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามหลักการ ด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย AA1000SES
ขอบคุณสำหรับการแจ้งข้อผิดพลาด
ทางหน่วยงานจะรีบทำการแก้ไข และปรับปรุงเพื่อกาให้บริการที่ดีขึ้น