Image Icon

28

Image Icon

0

ISB Roadshow ครั้งที่ 4 โครงการยกระดับผู้ประกอบอุตสาหกรรมสู่เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. ปี 2567

กนอ. จัดกิจกรรม ISB Roadshow ครั้งที่ 4 ภายใต้โครงการยกระดับผู้ประกอบอุตสาหกรรมสู่เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. ปี 2567 (I-EA-T Sustainable Business 2024) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) บูรณาการมาตรฐานความยั่งยืนด้วยการเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ Impact Report ได้ตามเกณฑ์ SDG/ESG 2) ยกระดับการผลิตและการบริการไปสู่ Smart & Sustainable และ 3) เรียนรู้จากกรณีศึกษาการขยาย Social Impact กับ ISB Lists

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2567 เวลา 08.30 น. รองศาสตราจารย์วีริศ อัมระปาล ผวก. มอบหมายให้ นายอนุชิต สวัสดิ์ ผช.ผวก.พย. เป็นประธานในพิธี โดยมี นางสาวพิชญา โทบุตร ผอ. ฝชส. เป็นผู้กล่าวรายงาน การจัดกิจกรรม ISB Roadshow ครั้งที่ 4 ภายใต้โครงการยกระดับผู้ประกอบอุตสาหกรรมสู่เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. ปี 2567 (I-EA-T Sustainable Business 2024) โดยกิจกรรม Roadshow มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) บูรณาการมาตรฐานความยั่งยืนด้วยการเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ Impact Report ได้ตามเกณฑ์ SDG/ESG 2) ยกระดับการผลิตและการบริการไปสู่ Smart & Sustainable และ 3) เรียนรู้จากกรณีศึกษาการขยาย Social Impact กับ ISB Lists ในการนี้ ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 ท่าน และจากหลากหลายภาคส่วนที่มาร่วมสร้างความตื่นตัวกับสถานการณ์โลกและประเทศไทย ให้เข้าใจ ISB และมาตรฐานสากล พร้อมเข้าถึงการสื่อสารรณรงค์ในสำนักงานนิคมอุตสาหกรรม สู่การเป็น ISB Lists ร่วมกับ ISB Community โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารและบุคลากร กนอ. สนญ., สำนักงานนิคมอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการ รวมกว่า 25 ท่าน และทางช่องทางการ Live ผ่านโปรแกรม Facebook จำนวนกว่า 190 ท่าน ณ ห้องไบร์ทตัน โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ภาพที่เกี่ยวข้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
06
12.2567
สัมมนารายงานผลการศึกษา โครงการสำรวจความพึงพอใจและทัศนคติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ กนอ. ประจำปี 2567

กนอ. จัดสัมมนารายงานผลการศึกษา โครงการสำรวจความพึงพอใจและทัศนคติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ กนอ. ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารผลการสำรวจความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวัง ความเชื่อมั่น ทัศนคติและความกังวล (VOS) ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญของ กนอ. ได้แก่ ผู้ใช้บริการทั้งในและต่างประเทศ ชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมและชุมชนโดยรอบพื้นที่ที่จะมีการจัดตั้ง-ขยายนิคมอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ คู่ค้า ผู้ส่งมอบ สื่อมวลชน และคู่ความร่วมมือ ที่ได้นำมาวิเคราะห์ และประเมินผล โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการนำผลที่ได้มาปรับปรุง/พัฒนากลยุทธ์ รูปแบบ กระบวนการ แนวทาง ตลอดจนการวางแผนในการดำเนินงานให้ตอบสนองต่อประเด็นความต้องการ และทำให้เหนือกว่าความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามหลักการด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย AA1000SES อันจะนำไปสู่การยกระดับการให้บริการต่อผู้ใช้บริการได้อย่างมีคุณภาพ และยกระดับความเชื่อมั่นด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และสังคม ต่อชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมได้อย่างสมดุลในที่สุด

Image Icon
23
Image Icon
0
TAG :
สัมมนารายงานผล CSAT Survey สำรวจความพึงพอใจ กนอ. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย VOS Stakeholder ความต้องการ ความคาดหวัง ความพึงพอใจไม่พึงพอใจ แผนยุทธศาสตร์ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Icon
15
10.2567
การสัมมนาสื่อสารแผนการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. ประจำปีงบประมาณ 2567 ภายใต้ สถาบัน กนอ.

กนอ. จัดการสัมมนาสื่อสารแผนการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. ประจำปีงบประมาณ 2567 ภายใต้ สถาบัน กนอ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นแนวทางมาตรฐานสำหรับการบริหารความเสี่ยงด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามแผนการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ.

Image Icon
18
Image Icon
0
Icon
11
10.2567
สัมมนาถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระยะยาวของ กนอ. ปีงบประมาณ 2566 – 2570 (ทบทวนปีงบประมาณ 2568) และแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2568

กนอ. จัดการสัมมนาถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระยะยาวของ กนอ. ปีงบประมาณ 2566 – 2570 (ทบทวนปีงบประมาณ 2568) และแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2568 ภายใต้สถาบัน กนอ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารและสร้างความรู้ความเข้าใจในทิศทางและเป้าหมายในการบริหารจัดการและสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. เพื่อให้การดำเนินงานมีการบูรณาการทั่วทั้งองค์กร สอดคล้องกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ ตามมาตรฐาน ISO 26000 และ ตอบสนองต่อประเด็นความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามหลักการ ด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย AA1000SES

Image Icon
20
Image Icon
0
TAG :
ISO26000 AA1000SES ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย SMART I.E. VOSs Stakeholder
Banner Border