Image Icon

2

Image Icon

0

การสัมมนาเปิดโครงการยกระดับผู้ประกอบอุตสาหกรรมสู่เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. ปี 2567 (I-EA-T Sustainable Business 2024)

กนอ. จัดสัมมนาเปิดโครงการยกระดับผู้ประกอบอุตสาหกรรมสู่เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. ปี 2567 (I-EA-T Sustainable Business 2024) ให้กับผู้บริหาร พนักงาน กนอ. ที่เกี่ยวข้อง ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. กำกับดูแล เพื่อสื่อสารแผนการดำเนินงานโครงการฯ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ และร่วมเป็นเครือข่ายในการประชาสัมพันธ์โครงการ นำไปสู่การสมัครเข้าร่วมโครงการในปี 2567 ต่อไป ในรูปแบบออนไลน์ (Zoom Meeting)

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.30 น. รองศาสตราจารย์วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. มอบหมายให้ นางบุปผา กวินวศิน รผก.พย. เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาโครงการยกระดับผู้ประกอบอุตสาหกรรมสู่เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. ปี 2567 (I-EA-T Sustainable Business 2024) ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยมี น.ส.พิชญา โทบุตร ผอ.ฝชส. กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ เพื่อสื่อสารแผนการดำเนินงาน ให้ผู้บริหาร พนักงาน กนอ. ที่เกี่ยวข้อง ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. กำกับดูแล เกิดความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ ของการดำเนินโครงการ เช่น วัตถุประสงค์ แผนการดำเนินงานโครงการ กลุ่มเป้าหมาย และสิทธิประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ และร่วมเป็นเครือข่ายในการประชาสัมพันธ์โครงการ นำไปสู่การสมัครเข้าร่วมโครงการในปี 2567 ต่อไป ในการสัมมนาครั้งนี้ได้เชิญ ISB Lists ของปี 2565 และปี 2566 จำนวน 4 ท่าน ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเข้าร่วมโครงการที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ ผู้พัฒนานิคมฯ ร่วมดำเนินงาน รวมทั้งสิ้น 181 คน

ภาพที่เกี่ยวข้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
15
05.2567
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และความต้องการ ความกังวลและความคาดหวัง (VOSs) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. และสายงาน/ฝ่ายงาน

กนอ. จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) และความต้องการ ความกังวลและความคาดหวัง (VOSs) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. และสายงาน/ฝ่ายงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) และความต้องการ ความกังวลและความคาดหวัง (VOSs) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. ของแต่ละหน่วยงาน ให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ Enablers ของรัฐวิสาหกิจ (ฉบับปรับปรุง ปี 2567) ด้านการมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Module 1 : การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

Image Icon
2
Image Icon
0
TAG :
VOSs ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Enablers การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Icon
15
05.2567
ISB Roadshow ครั้งที่ 1 โครงการยกระดับผู้ประกอบอุตสาหกรรมสู่เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. ปี 2567

กนอ. จัดกิจกรรม ISB Roadshow ครั้งที่ 1 ภายใต้โครงการยกระดับผู้ประกอบอุตสาหกรรมสู่เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. ปี 2567 (I-EA-T Sustainable Business 2024) เพื่อเร่งส่งเสริมการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการสู่มาตรฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมรับสมัครเข้าร่วม การประเมินรับรอง ISB Lists และเข้าร่วมประกวดรางวัล ISB Awards และเกิดความร่วมมือเครือข่าย ผลักดันสู่การสร้างผลสัมฤทธิ์ทางสังคมในภาคอุตสาหกรรมไทย

Image Icon
3
Image Icon
0
TAG :
ISB ISB Roadshow เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคม การพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. ISB Lists ISB Awards
Icon
09
05.2567
สัมมนารับฟังการดำเนินโครงการ เพื่อศึกษาและกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของการดำเนินงานนิคมอุตสาหกรรม (Social Impact Assessment : SIA)

กนอ. จัดสัมมนารับฟังการดำเนินโครงการ เพื่อศึกษาและกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของการดำเนินงานนิคมอุตสาหกรรม (Social Impact Assessment : SIA) ให้กับผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรม และพนักงาน กนอ. ที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ ของการดำเนินโครงการฯ เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบแนวทางในการวัดผลสำเร็จของการดำเนินงานนิคมอุตสาหกรรม ในการสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมกับเตรียมความพร้อมสู่การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของนิคมอุตสาหกรรม และวางแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานของนิคมฯ ให้สามารถเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และบรรลุเป้าหมายการเป็นนิคมอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืนในปี 2575

Image Icon
3
Image Icon
0
TAG :
SIA Social Impact Assessment การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเป็นนิคมอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน
Banner Border